เทคนิคดูแลผิวหน้าให้สุขภาพดี ด้วย 5 กฎเหล็กที่คุณผู้ชายไม่ควรพลาด

เทคนิคดูแลผิวหน้าให้สุขภาพดี ด้วย 5 กฎเหล็กที่คุณผู้ชายไม่ควรพลาด

หนุ่มๆ เชื่อกันไหมว่า แค่รู้กฎเหล็กในการดูแลผิวหน้า ก็สามารถมีผิวหน้าที่แข็งแรงสุขภาพดีได้ มาคครับ วันนี้เราจะชวนมารู้ถึง 5 ข้อสำคัญที่ควรใช้ในการดูแลผิวหน้าโดยเฉพาะ ซึ่งแนะนำว่าควรทำอย่างมีวินัย แล้วจะได้มาซึ่งผิวหน้าที่ดีอย่างแน่นอน ตามมาดูกันดีกว่าว่า 5 กฎเหล็กในการดูแลผิวหน้าให้แข็งแรงสุขภาพดีต้องทำอะไรกันบ้าง

สุขภาพ

1.ใช้สกินแคร์ให้เหมาะกับสภาพผิว

แน่นอนว่าอยากมีผิวหน้าสุขภาพดี ก็ต้องหมั่นบำรุงอย่างสม่ำเสมอ แต่จะให้การบำรุงผิวหน้าได้ผลจริง ก็ต้องเลือกครีมบำรุงผิวหรือสกินแคร์ให้เหมาะกับสภาพผิวของตัวเองด้วยเช่นกัน ดังนั้นหนุ่มๆ จะต้องรู้ว่าสภาพผิวของตัวเองเป็นแบบไหน แล้วจึงเลือกใช้สกินแคร์บำรุงผิวที่ออกแบบมาสำหรับสภาพผิวนั้นๆ โดยเฉพาะ

2.ทาครีมบำรุงตามขั้นตอน

ต่อให้ลงทุนซื้อสกินแคร์ราคาแพงแค่ไหน ถ้าทาไม่ถูกขั้นตอน ก็อาจทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจมากนัก ดังนั้นถ้าคุณหนุ่มๆ ตั้งใจจะบำรุงผิวด้วยครีมบำรุงต่างๆ จะต้องบำรุงตามขั้นตอน โดยใช้วิธีการจำก็คือ ทาจากบางไปหาหนา นั่นหมายความว่าจะต้องทาครีมที่มีเนื้อบางเบาไปจนถึงครีมที่มีเนื้อหนานั่นเอง โดยหลังจากล้างหน้าเสร็จแล้ว ให้ต่อด้วยการบำรุงด้วยโทนเนอร์หรือเอสเซนส์ แล้วตามด้วยเซรั่ม มอยส์เจอไรเซอร์ และครีมกันแดด วิธีนี้จะเป็นการล็อกครีมบำรุงให้อยู่บนผิวนานนั่นเอง

3.ทาครีมกันแดดทุกวัน

จำไว้เสมอว่าครีมกันแดดคือไอเท็มบำรุงผิวที่สำคัญมากๆ เพราะเป็นไอเท็มที่ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันผิวคล้ำเสียเท่านั้น แต่ยังป้องกันไม่ให้ผิวถูกแสงแดดทำร้ายอีกด้วย ดังนั้นถ้าวันไหนเร่งรีบจนไม่มีเวลาทาครีมบำรุงหลายขั้นตอน หยิบเอาครีมกันแดดมาทาอย่างเดียวก่อนได้เลย

4.สครับผิวอาทิตย์ละครั้ง

การสครับผิวช่วยให้ผิวกระจ่างใสและเรียบเนียน แต่ก็ไม่แนะนำให้ทำทุกวัน โดยแนะนำให้หนุ่มๆ สครับผิวอาทิตย์ละครั้ง หรือจะ 2-3 ครั้งต่ออาทิตย์ก็ได้เช่นกัน แต่ห้ามมากกว่านั้น เพราะแทนที่จะเป็นการผลัดเซลล์ผิว อาจกลายเป็นการทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้

5.ใช้ครีมบำรุงผิวสำหรับกลางวันและกลางคืนโดยเฉพาะ

ครีมบำรุงผิวหลายตัวถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับกลางวันและกลางคืนโดยเฉพาะ ซึ่งหนุ่มๆ ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะเป็นการสิ้นเปลือง เพราะถ้าเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้ ยังไงก็ถือว่าคุ้ม เพราะในครีมบำรุงแต่ละตัวจะมีการใส่สารบำรุงที่ทำงานตามช่วงเวลานั่นเอง

หนุ่มๆ คนไหนที่กำลังสนใจในการดูแลผิวหน้าของตัวเอง แนะนำให้จำ 5 กฎเหล็กในการบำรุงผิวหน้าเหล่านี้กันค่ะ เพราะถือเป็นเคล็ดลับการดูแลผิวที่ไม่เพียงแต่ทำตามได้ง่ายและเห็นผลดีเท่านั้น แต่ยังเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ได้ตรงจุดประสงค์มากที่สุดอีกด้วย

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติม ได้ที่นี่ : กรมอนามัย เตือน ก.พ. 66 ค่าฝุ่น PM2.5

กรมอนามัย เตือน ก.พ. 66 ค่าฝุ่น PM2.5

กรมอนามัย เตือน ก.พ. 66 ค่าฝุ่น PM2.5 สูงถึงระดับสีแดงหลายพื้นที่ เน้นย้ำ สวมหน้ากากอนามัย-งดกิจกรรมกลางแจ้ง

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่เงียบหายไป กลับมาอีกครั้ง โดยทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาประกาศเตือนว่า ระหว่างวันที่ 1 – 4 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ ค่าฝุ่น PM2.5 สูงถึงระดับสีแดง คือ 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไปในหลายพื้นที่ ประชาชนควรสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันการรับฝุ่นละอองขนาดเล็ก รวมทั้งลดหรืองดทำกิจกรรมนอกบ้าน

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่าระหว่าง 12 – 129 ไมโครกรัม (มคก./ลบ.ม.) พบเกินมาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) ใน 56 พื้นที่ และระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) 5 พื้นที่ ได้แก่พื้นที่จังหวัด กรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม นครพนม เชียงใหม่ และลำพูน โดยคาดการณ์ว่า ระหว่างวันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 2566 ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจมีแนวโน้มค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน เนื่องจากสภาพอากาศปิดและนิ่ง รวมทั้งมีการเผาไหม้ที่โล่ง

สุขภาพ

ค่าฝุ่น PM2.5 ที่เกินมาตรฐานจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างชัดเจน เช่น แสบตา คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก มีน้ำมูก แสบจมูก แสบคอ มีอาการไอแห้ง ๆ คันตามร่างกาย โดยอาการอาจรุนแรงถึงขั้นแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด เหนื่อยง่าย อีกด้วย

ซึ่งผลจากการประเมินตนเองของประชาชน พบว่า ประชาชนมีอาการทางด้านสุขภาพจากค่าฝุ่นสูง ถึงร้อยละ 70 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กอายุ 5 – 14 ปี กรมอนามัยจึงขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง ระหว่างวันที่ 1 – 4 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นพิเศษ โดยการปฏิบัติตนตามระดับสีค่าฝุ่นสูง ดังนี้:

สีส้ม: ระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (51 – 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ประชาชนทั่วไป และกลุ่มเสี่ยง ควรลดหรือจำกัดการทำกิจกรรมนอกบ้าน หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น และสังเกตตนเอง หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
สีแดง: ระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป) ควรลดหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้าน เปลี่ยนมาทำกิจกรรมในบ้าน

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> รู้ทันเฝ้าระวัง “โรคอัลไซเมอร์”

รู้ทันเฝ้าระวัง “โรคอัลไซเมอร์”

รู้ทันเฝ้าระวัง “โรคอัลไซเมอร์”

สุขภาพ

โรคอัลไซเมอร์ พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ อาการสมองเสื่อมนับเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุสมบูรณ์ในปี 2565 ซึ่งมีประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด โดยหน่วยงานราชการ เอกชน รวมถึงภาคประชาชนจำเป็นต้องมีความเข้าใจในปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างรอบด้าน หนึ่งในปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ  ที่สำคัญมาก คือ ภาวะสมองเสื่อม รายงานในปี 2563 ประมาณการว่ามีผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมถึง 651,950 คน จากผู้สูงอายุ 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.43 ของผู้สูงอายุทั้งหมด โดยมีโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของสมองเสื่อมที่สำคัญที่สุด ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเน้นการให้บริการสอดรับสังคมผู้สูงอายุ โดยการจัดระบบบริการผู้สูงอายุแบบองค์รวมในสถานพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศในรูปแบบคลินิกผู้สูงอายุ

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า  โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก เกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติในระบบประสาท ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาทและเกิดสมองฝ่อตามมา ปัจจัยเสี่ยงอาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุป  ที่ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด อาการที่พบบ่อยที่สุดมักเป็นผู้สูงวัยที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีปัญหาความจำบกพร่อง ผู้ป่วย จะเริ่มถามซ้ำ ๆ จำวัน เวลา และสถานที่ของเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้ เมื่ออาการของโรคมากขึ้นผู้ป่วยอาจเสียความสามารถ ในการทำกิจวัตรประจำวัน รวมถึงมีปัญหาพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดง่ายขึ้น หลงผิด หรือมีอาการหลอนตามมา ท้ายที่สุดผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านสมรรถภาพสมองบกพร่องในทุกด้านจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งสร้างความยากลำบากมากขึ้นต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและการดูแลของญาติ การรักษาปัจจุบันประกอบด้วยการรักษาทางยา ซึ่งจะช่วยชะลอให้ความจำเสื่อมถอยช้าลงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น การปรับพฤติกรรมหรือทำกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพความจำ รวมถึงการรักษากายและใจโดยรวมให้ดีก็เป็นส่วนที่สำคัญ สำหรับญาติหรือคนใกล้ชิดที่สงสัยว่ามีผู้สูงวัยใกล้ตัว มีอาการภาวะสมองเสื่อม ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป